วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Genius=6Qs

เมื่อพูดถึงคำว่า"อัจฉริยะ"ใครหลายคนอาจรู้สึกขยาดและไม่อยากเข้าใกล้เพราะอัจฉริยะในสายตาของผู้คนนั้นหมายถึง บุคคลผู้แปลกและแตกต่างอย่างมหาศาล และคำว่าอัจฉริยะได้ถูกนำไปรวมกับคำว่า"ความเก่งทางมันสมอง จนกลายเป็นสิ่งเดียวกัน และทำให้ผู้คนเข้าใจผิด" 
แต่แล้วงานวิจัยและมุมมองใหม่ของบรรดานักวิชาการก้องโลกต่างออกมาบอกกล่าวกันใหม่ว่า อัจฉริยะตัวจริงเสียงจริงไม่ใช่แค่กลุ่มคน IQ กระฉูดฉุดไม่อยู่อีกต่อไป เพราะองค์ประกอบการจะมีอัจฉริยภาพสูงสุดสมัยนี้วัดกันด้วยจำนวน Q ถึง 6Qs กันแล้ว อันได้แก่
                            IQ เชาวน์ปัญญา
                            EQ เชาวน์อารมณ์
                            AQ เชาวน์ความอึด
                            MQ เชาวน์จริยธรรม
                            HQ เชาวน์สุขภาพ
                            SQ เชาวน์อัจฉริยภาพ 
และปัจจุบันมีอีก 2Qs ซึ่งติดตามตอนต่อไป

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555


เทคนิคการบริหารสมัยใหม่PDFพิมพ์อีเมล


1.  การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีเทคนิคที่สำคัญ คือ 
  •  การใช้กลุ่มทำงานเฉพาะกิจและคณะทำงาน 
  • มีคณะกรรมการให้คำแนะนำ 
  • มีการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องและทั่วไป 
  • การระดมความคิด
  • มีการฝึกอบรม 
  • ฝึกวัตถุประสงค์งานเป็นหลัก 
1pa-admin

2.  Benchmarking  มีเทคนิคที่สำคัญ คือ การตั้งคำถาม

  • ขณะนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์(งาน) ของเราอยู่ ณ จุดใด 
  • งานในประเภทนี้ใครเก่งที่สุด 
  • ผู้ที่เก่งที่สุดเขาทำอย่างไร 
  • จะทำอย่างไรงานหรือผลิตภัณฑ์ของเราจึงจะดีกว่า 

3.  ไคเซ็น (Kaizen)  มีเทคนิคที่สำคัญ คือ


  • ผู้บริหารหมั่นตรวจสอบ 
  • ให้คำแนะนำ 

4.  Key  Performance  Indicators : KPI  มีเทคนิคที่สำคัญคือ

  • วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานหรือผลลัพธ์ ที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของผลผลิต (Output)  ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact)  ที่เกิดจากกระบวนการทำงานขององค์การ
  • จากผลลัพธ์ที่ได้นำมาวิเคราะห์หลักฐานในเชิงรูปธรรม ที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ 
  • เขียนตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานในเชิงประมาณ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลการปฏิบัติงานจริง 
 5.  การบริหารเวลา (Time Management)  การบริหารเวลามีหลักการที่สำคัญคือ

  • ทำทันเวลา 
  • ทำถูกเวลา 
  • ทำตามเวลา  
  • ทำตรงเวลา 
 2time-admin
 6.  การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์(Management by Objective : MBO)  มีหลักการที่สำคัญคือ

  • ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักในทุกระดับขององค์การ 
  • พิจารณาผลงานเป็นหลักวัดผลสำเร็จของงาน 
  • เน้นแนวคิดการทำงานเป็นทีม
  • มีการวางแผนและควบคุมงาน
 7.  การบริหารงานแบบ Management by Walking  Around : MBWA  มีหลักการที่สำคัญคือ

  • ผู้บริหารใช้การประสานงาน
  • อำนวยความสะดวก  มากกว่าการบังคับบัญชา
 8.  การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Situation Objective Strategy : SOS)  มีหลักการที่สำคัญคือ 

  • S = Situation  คือ สถานการณ์  ความรู้เกี่ยวกับตัวเราเอง เราอยู่ที่ไหน กับใคร เกิดอะไรขึ้น  ซึ่งก็หมายถึงสิ่งแวดล้อมตัวเรานั้นเอง
  • O= Objective คือ เป้าหมายว่าต้องการอะไร  จะไปที่ไหน  ต้องการความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน  อย่างไร
  • S = Strategy  คือ กลวิธี  รู้ว่าจะไปถึงเป้าหมาย  จะไปที่นั่นได้อย่างไร
 9.  การรื้อปรับระบบ (Reengineering)  มีหลักการที่สำคัญ คือ
  • Rethink  การทบทวนใหม่
  • Redesign  การกำหนดรูปแบบใหม่ของกระบวนการทำงาน
  • Rethought  การสร้างแนวคิดใหม่
  • Retrain  การอบรมให้ความรู้ใหม่
3re-admin
 10. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results  Based  Management : RBM)  มีหลักการและขั้นตอนที่สำคัญคือ
  • การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ
  • การกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ(CSFs)
  • การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน(KPIs)
  • การกำหนดแหล่งข้อมูล
  • การตั้งเป้าหมาย
  • การรายงาน
  • การวิเคราะห์
  • การบันทึกและอนุมัติข้อมูล
  • การรวบรวมข้อมูล
4KPI-admin

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

9 functions of HRM System

  1. SHRP การวางแผนยุทธศาสตร์กำลังคน
  2. Hiring process การสรรหา คัดเลือก 
  3. PMS การบริหารผลการปฏิบัติงาน
  4. Compensation การจ่ายค่าตอบแทน
  5. HRD/Training & Development การฝึกอบรมพัฒนา
  6. Regulation กฏหมายแรงงาน
  7. Discipline  วินัย ข้อกำหนด
  8. Labour relations แรงงานสัมพันธ์ สร้างความผูกพัน
  9. HRIS สารสนเทศ

รู้จักงานอาชีวอนามัยของเราดีหรือยัง

                                              งานอาชีวอนามัย โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ 
หน่วยงานอาชีวอนามัย สังกัดกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ
English name :  Occupational Health Services
เป้าหมายหน่วยงาน :    ผู้ประกอบอาชีพ บุคลากร ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ ได้รับบริการด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาพยาบาล ด้วยความพึงพอใจ ปลอดภัย ภายใต้การใช้ทรัพยากรคุ้มค่า และสร้างรายได้ให้กับโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง 1.
ขยายความ ส่งเสริมสุขภาพ (Promotion) และดำรงรักษา (Maintenance) ซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพ กาย จิต และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพ 2.
                   ป้องกัน (Prevention) ไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพเสื่อมโทรมหรือผิดปรกติ อันมีสาเหตุมาจากสภาพหรือสภาวะในการทำงานต่างๆ 3.
                    การป้องกันคุ้มครอง (Protection) ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำตนเสี่ยงอันตราย ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพขึ้นได้ 4.
                    การจัดงาน (Placing) ให้ผู้ประกอบอาชีพได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับความสามารถของร่างกาย และจิตใจของเขา 5.
                    การปรับ (Adaptation) จัดงานให้เหมาะสมกับคนและปรับคนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงาน 
บทบาทหน้าที่ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1.

  •  สืบค้นปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวบรวมสถิติเกี่ยวกับโรคและการบาดเจ็บเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน 2.
  • เฝ้าระวัง ควบคุมโรค ภาวะสุขภาพด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและให้สุขศึกษาแก่พนักงาน ผู้ประกอบอาชีพ 3.
  • ให้บริการตรวจคัดกรองสุขภาพพนักงาน ผู้ประกอบชีพ 4. ให้บริการผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ บาดเจ็บจากการทำงาน 
  • ตรวจวินิจฉัยและให้การรักษา รวมทั้งให้สุขศึกษาด้านอาชีวอนามัย 5.
  • ฝึกอบรม เผยแพร่วิชาการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ ตำบล และฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยและปฐมพยาบาลแก่สถานประกอบการ 6.
  • ศึกษา วิจัย เพื่อบริการที่ดีขึ้น ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย                                     ขอบเขตงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1.
  • บริการคัดกรองสุขภาพ ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ ทั้งในและนอกสถานที่ 
  • ตรวจรักษาโรคทีเกี่ยวเนื่องและบาดเจ็บจากการทำงาน 
  • ตรวจวินิจฉัยให้การรักษาพยาบาล 
  • ให้สุขศึกษา ฝึกอบรมเผยแพร่วิชาการ 
  • สร้างผลงานวิจัยด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 3.
  • ค้นหา ประเมิน ควบคุม สภาพแวดล้อมของการทำงาน (Working Environment) ในงานแต่ละประเภท เพื่อวางมาตรการป้องกัน กำหนดวิธีการที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ 4.                          เวลาปฏิบัติงาน 08.30 – 16.00 น. และนอกเวลาราชการกรณีออกบริการเชิงรุก 5.                      กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้สมัครงาน พนักงานประจำโรงงาน หน่วยงานราชการ เอกชน ประชาชน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิและพื้นที่ใกล้เคียง                                                                  อัตรากำลัง              อัตรากำลังรวม 5 คน ประกอบด้วย 
  • พยาบาลวิชาชีพ 4 คนได้แก่ หัวหน้างาน  รองหัวหน้างาน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 2 คน
  • นักวิชาการสาธารณสุข 1 คน                                                                                                     สถานที่ติดต่อขอรับบริการ
  • งานอาชีวอนามัย โทร037 279204 ต่อ 228 235

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

6 อ คืออะไร

อ ออกกำลังกาย
อ อารมณ์
อ อาหาร
อ อโรคยา
อ อุบัติเหตุ
อ อบายมุข